tải baccarat

สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่

 • TMS คืออะไร


    TMS ย่อมาจาก Transcranial Magnetic Stimulation เป็นนวัตกรรมที่ใช้รักษาคนไข้ โดยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วน dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation คือ การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตำแหน่งเดียวกัน ด้วยการผสมผสานของขดลวดแบบพิเศษทำให้สามารถเข้าถึงจุดที่ต้องการกระตุ้นได้มากกว่า TMS แบบธรรมดา โดยลงได้ลึกไปสู่จุดกระตุ้นที่อยู่ใต้พื้นผิวของกะโหลกศีรษะถึง 3 เซนติเมตร ซึ่งลึกกว่า แล้วก็ปล่อยในตำแหน่งที่กว้างกว่า

 • รักษาโรคอะไรได้บ้าง


    การรักษาด้วยเครื่อง dTMS ได้รับการอนุมัติจาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่าสามารถรักษาอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือดื้อต่อการรักษา และโรคภาวะตื่นตระหนกหลังจากเจอความหวาดวิตก หรือ PTSD สำหรับโรคอื่นๆ เช่น อัลไซเมอร์ สมาธิสั้น ออทิสติก หรือวิตกกังวล ยังอยู่ในระหว่างเก็บข้อมูล

  • TMS เหมาะกับใคร


    เหมาะสำหรับรักษาผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า และ PTSD เป็นหลัก ซึ่งเริ่มต้นใช้ TMS รักษาซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ดื้อยา โดยจะดีขึ้นอีกประมาณร้อยละ 50-70

 • TMS ไม่เหมาะกับใคร


    1. ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ติดตั้งอยู่ที่ศีรษะหรือบริเวณร่างกาย ระยะห่างจากหมวกอุปกรณ์น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
    2. ผู้ที่มีวัสดุโลหะฝังอยู่ในร่างกายหรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะใกล้กับบริเวณศีรษะ
    3. ผู้มีประวัติโรคลมชัก โดยเฉพาะโรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้
    4. ผู้มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะภาวะเลือดออกในสมองหรือหลอดเลือดสมองตีบที่อาการยังไม่คงที่
    5. มีไข้หรือมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ระบบ ตา หู คอ จมูก
    6. สัญญาณชีพไม่คงที่หรือระดับความรู้สึกตัวลดลง

 • dTMS รักษาภาวะซึมเศร้าอย่างไร


    กลไกการออกฤทธิ์ของ dTMS แตกต่างกับยา คือ กระตุ้นสมองโดยตรง และกระตุ้นให้การทำงานของสมองกลับมาเป็นปกติได้ มีประสิทธิภาพสูงกว่ายา ปัจจุบันมีคนพยายามนำมาใช้ในผู้ป่วยซึมเศร้าที่ไม่ดื้อยา เป็นผู้ป่วยที่รับผลข้างเคียงของยาไม่ได้ รับการรักษามานานแล้วยังไม่ดีขึ้น ต้องการให้อาการดีขึ้นเร็วๆ หรือเป็นการรักษาร่วมกับการใช้ยา อีกกรณีหนึ่ง คือ ไบโพลาร์ที่มีภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยไบโพลาร์ ถ้าเป็นระยะที่ซึมเศร้าแล้วมีข้อจำกัดในการใช้ยาอย่างมาก เพราะยาซึมเศร้าหลายชนิดสามารถกระตุ้นให้ไบโพลาร์กลายไปเป็นอารมณ์ดีเกินเหตุ ดังนั้น ยาจึงมีข้อจำกัด ผู้ป่วยจะไม่ค่อยฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้า แต่ตัว dTMS สามารถทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้โดยไม่ทำให้อารมณ์ดีเกินไป

    dTMS รักษาโรคซึมเศร้าคล้ายการออกฤทธิ์ของยา ปกติสมองของคนเราทำงานโดยสารเคมี เมื่อปล่อยสารเคมีออกมา สมองจะมีการปล่อยประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าสารเคมีจะออกมามากหรือมาน้อย การปล่อยสารเคมีหรือการรับสารเคมีของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะผิดปกติไป เป็นที่มาของประโยคยอดฮิตที่ว่า "คุณเป็นโรคสารเคมีในสมองผิดปกติ"

    dTMS ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองโดยตรง โดยเหนี่ยวนำให้การปล่อยประจุไฟฟ้าเข้าไปปรับสมดุลทุกส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่กระตุ้น สารเคมีในสมองจึงกลับมาทำงานเป็นปกติ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ หรือที่เรียกว่า Normalization

 • Normalization การกลับสู่ภาวะปกติ คืออะไร 


    คำว่า Normalization คือ การเหนี่ยวนำให้สมองส่วนต่างๆ กลับไปทำงานเป็นปกติ คนที่มีภาวะซึมเศร้าแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน บางคนซึมเศร้า บางคนกังวลเยอะ บางคนเฉื่อยๆ สาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะว่า สมองแต่ละส่วนของผู้ป่วยซึมเศร้า ทำงานมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ละคนมีสัดส่วนของอาการไม่เท่ากันด้วย

    ในคนเป็นโรคซึมเศร้าสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องของอารมณ์ และความกังวลจะถูกกระตุ้นได้ง่าย การรักษาด้วย dTMS จะทำให้สมองส่วนนี้ทำงานลดลง หรือ Sensitive น้อยลง หมายความว่า สมองส่วนที่ควรจะเยอะก็ต้องทำงานเยอะ ส่วนที่ควรจะทำงานน้อย ก็ต้องกลับไปทำงานน้อย นี่คือ Normalization

การทำงานของ dTMS 


    dTMS เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นบริเวณสมองส่วนหน้าในแต่ละครั้งจะกระตุ้นผ่านหมวกอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ที่ศีรษะโดยจะกระตุ้น 2 วินาที และเว้นพักเป็นระยะเวลา 20 วินาที จึงกระตุ้นซ้ำต่อเนื่องไป 20-30 นาที ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นกับจำนวนครั้งสะสมของการกระตุ้น แต่มีข้อจำกัดในการกระตุ้นแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 10-15 วัน หรือเว้นไม่เกิน 1 สัปดาห์ (ความถี่และระยะเวลาในการกระตุ้นอาจขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย) ก่อนการรักษาจำเป็นต้องประเมินระดับอาการของผู้ป่วยเพื่อใช้ในการติดตามการรักษาระหว่างและหลังการรักษา

 ภาวะแทรกซ้อน/ความเสี่ยงจากการรักษาด้วย dTMS 


    1. อาจทำให้เกิดอาการชัก ผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาและอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ และในระหว่างการกระตุ้น หากรู้สึกไม่สบายตัวหรือมีอาการผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องมือทราบ โดยด่วน

    2. อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน หลังการกระตุ้น อาการมักเป็นเล็กน้อยและมีอาการเพียงชั่วคราว อาจเกิดอาการรำคาญหรือไม่สบายที่ศีรษะ ขณะที่กระตุ้นและถูกรบกวนด้วยเสียงดังขณะทำการกระตุ้น

    การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาด้วย dTMS พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในคืนก่อนทำการรักษาโดยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดความถี่สูง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนก่อนการรักษา อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ตรวจวัดไข้และสัญญาณชีพอื่นๆ ก่อนทำการรักษาทุกครั้ง หากมีอาการเจ็บป่วยอื่นหรือมียารับประทานเพิ่มเติมจากเดิมจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง

    คำแนะนำหลังการรักษาด้วย dTMS การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดความถี่สูงทุกครั้ง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและง่วงนอน หลังการกระตุ้นควรนั่งพักและดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการขับขี่รถหรือหากจำเป็น ควรขับขี่เมื่อรู้สึกพร้อมและควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

    หากสนใจรับบริการ dTMS ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ว่าเหมาะสมในการทำหรือไม่ เนื่องจากในการรักษาทุกอย่างต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น ประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อรักษาตรงกับโรค ความคุ้มค่าเพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ ค่าใช้จ่ายจึงค่อนข้างสูง หากผู้ป่วยใช้การรักษาด้วยยาที่ราคาไม่แพงและหายได้ก็อาจไม่ต้องรักษาด้วย dTMS หรือหากรักษาไปแล้วอาการดีขึ้นไม่เต็มที่ dTMS จะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นได้เต็มที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 725 9595
การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด

sòng bạc tiền thật casino trực tuyến w88 cá cược bóng đá cá cược bóng đá trực tuyến cá cược bóng đá 88