tải baccarat

สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
tải baccaratLiên kết đăng nhậpการเล่นบำบัด (Play Therapy) คืออะไร การเล่นบำบัด คือ การเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้านของเด็ก ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ การเล่นบำบัดเป็นวิธีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างเป็นธรรมชาติโดยใช้การเล่นเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด ความรู้สึกอย่างอิสระ ระบายปัญหาและความคับข้องใจผ่านการเล่น เทียบได้กับการบำบัดด้วยการพูดคุยเชิงจิตวิทยาในผู้ใหญ่ ซึ่งช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ส่งผลให้เด็กดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

เล่นบำบัดต่างจากการเล่นทั่วไปอย่างไร


    • กิจกรรมการเล่น (Play Activity) คือ การเล่นโดยทั่วไปของเด็ก และสามารถดูแลได้โดยผู้ใหญ่ทั่วไป
    • การเล่นบำบัด (Play Therapy) คือ การเล่นอีกระดับและเป็นระบบโดยพัฒนาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา ดูแลโดย นักเล่นบำบัด (Play Therapist) ซึ่งมีพื้นฐานความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก โดยเรียนจบเฉพาะทางด้านการเล่นบำบัด และได้รับประกาศนียบัตรรับรองเป็นนักเล่นบำบัด (Certified Play Therapist) ซึ่งมีความเข้าใจ สัญลักษณ์ รูปแบบ และวิธีการเล่นของเด็กแต่ละคน

 นักเล่นบำบัดทำอะไรบ้าง


    หน้าที่สำคัญของนักเล่นบำบัด คือ เคารพในตัวตนของเด็กในแบบที่เด็กเป็น ใช้ทักษะการเล่นบำบัดช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสบายใจ ผ่อนคลาย พัฒนาอารมณ์ทางบวก เห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง ทำให้มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในตนเอง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นักเล่นบำบัดจะจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กรู้สึกปลอดภัย เป็นส่วนตัว ได้รับการเอาใจใส่ และเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ซึ่งช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยให้เด็กได้ค้นหาและพัฒนาศักยภาพในตัวเองได้อย่างเต็มความสามารถ

  ประโยชน์จากเล่นบำบัด


    เด็กๆ มักสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเล่น ซึ่งการเล่นบำบัดมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ช่วยให้เด็กสามารถระบายความเครียด ความกังวล และได้พัฒนาทักษะต่างๆ

    สำหรับเด็กแล้ว ของเล่นเป็นเสมือนโลกของเขา และการเล่นก็เป็นภาษาที่เด็กแสดงออกมาโดยอาศัยการเล่นบำบัด เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับตนเอง เคารพตนเอง และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหาดีขึ้น ซึ่งช่วยให้เด็กมีความสุขมากขึ้น

 กิจกรรมที่ใช้สำหรับการเล่นบำบัด


    การเล่นบำบัดใช้เวลาประมาณครั้งละ 45 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีเทคนิคการเล่นหลายรูปแบบ เรียกว่า “อุปกรณ์ในการเล่นบำบัด” (Play Therapy Tool Kit) ประกอบด้วย
    • นิทานบำบัด เรื่องเล่าบำบัด
    • การเล่นสมมติ
    • หุ่นมือ (Puppets)
    • การเล่นทรายบำบัด (Sandplay)
    • ศิลปะ วาดรูป ระบายสี
    • ดนตรี
    • การเคลื่อนไหว การเต้น
    • การปั้น (Clay)
    • การใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยใช้จินตภาพ (Creative visualization)

    การเล่นบำบัดมีหลายรูปแบบซึ่งเด็กจะเลือกเองตามความสนใจ เพื่อให้เขาได้แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดในช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. การเล่นด้วยระบบสัมผัส ผ่านกิจกรรมปั้น เป่าลูกโป่ง เพื่อให้สัมผัสกับของเล่นด้วยตัวเอง
    2. การเล่นที่เป็นการแสดงออกถึงตัวตนหรือความรู้สึกนึกคิด เช่น การเล่นทราย วาดภาพ วิธีนี้สื่อให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของเขาว่ามีอารมณ์ความรู้สึกแบบไหนผ่านงานศิลปะ และการเล่นแบบสมมติ ซึ่งเขาสามารถเลือกเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ตามใจชอบ ยกตัวอย่างการเล่นสมมติเป็นคุณครู พ่อแม่ คุณหมอ เด็กๆ จะได้เลือกบุคลิกของตัวเอง เขาอาจเลือกเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อแสดงออกมาว่าเขาเป็นอะไร ทำให้เรารู้ถึงความคิด ความต้องการและความสนใจของเขา ช่วยให้การเยียวยาทำได้ง่ายขึ้น
    3. การเล่านิทานหรือการเล่าบำบัด เป็นอีกวิธีให้เด็กเลือก วิธีนี้ผู้บำบัดจะต้องรู้ประวัติความเป็นมาของเด็กก่อน อาจเล่านิทานที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเรื่องราวที่เด็กได้เจอ เพื่อให้รู้สึกรับรู้ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่เขาคนเดียวที่เป็นแบบนี้ ยังมีคนอื่นที่เป็นเหมือนเขา วิธีนี้ทำให้เด็กแสดงความคิดเห็นส่วนตัวออกมา จากการฟังนิทานหรือมีส่วนร่วมในการเล่านิทานเรื่องนั้นๆ อาจมีอุปกรณ์เสริม เช่น หุ่นมือ ตุ๊กตา หรืออื่นๆ ให้เด็กใช้ประกอบการเล่าเรื่องด้วย

 เล่นบำบัดเหมาะกับใครบ้าง


    การเล่นบำบัดช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะเด็กที่ประสบภาวะ ดังนี้
    • ซึมเศร้า ไม่มีความสุข เครียด วิตกกังวล
    • มีปัญหาด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรม
    • ปัญหาการสื่อสาร พูดช้า ไม่ยอมพูด
    • พัฒนาการล่าช้า
    • ประสิทธิภาพทางการเรียนลดลง
    • เด็กสมาธิสั้น เด็กออทิสติก
    • ขี้อาย ขาดทักษะทางสังคม แยกตัว
    • ความภาคภูมิใจในตนเองน้อย
    • ถูกเพื่อนรังแก หรือรังแกเพื่อน
    • ก้าวร้าว ใจร้อน โกรธ อิจฉา ทะเลาะวิวาท
    • ถูกทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ
    • ปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
    • ชอกช้ำจากการสูญเสีย ปัญหาความผูกพัน (Attachment)
    • มีการเล่นไม่เหมาะสม
    • เจ็บป่วย พิการ

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด

sòng bạc tiền thật casino trực tuyến w88 cá cược bóng đá cá cược bóng đá trực tuyến cá cược bóng đá 88